Go to https://eblpt.com/
โครงการอบรมวิชาการผ่านสื่อทางไกล
เรื่อง
“Clinically Integrated Strapping / KT-taping”
(Fundamental level)
การบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าและข้อเข่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากในงานกายภาพบำบัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักการวิ่งและการเล่นกีฬา
การรักษาทางกายภาพบำบัดในระยะแรกเริ่มจะส่งผลดีต่อการสมานแผลใช้เวลาน้อยลงสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติหรือใกล้เคียง การพันเทปกาวยืดหรือ strapping เป็นวิธีการหนึ่งของการรักษาและเป็นที่นิยมกันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะในวงการกีฬา เทคนิคการพันขึ้นอยู่กับลักษณะและตำแหน่งของการบาดเจ็บซึ่งผู้กระทำต้องมีความแม่นยำในกายวิภาคศาสตร์ พยาธิสภาพ การบาดเจ็บและทักษะการดึงแถบผ้ายืดนี้ การเรียนรู้ทางทฤษฎีเป็นสิ่งพื้นฐาน แต่การปฏิบัติการพันเป็นเรื่องทักษะที่ต้องฝึกฝน
ปัจจุบันมีวิทยากรหลายท่านเปิดสอนอบรมการพันเทปกาวนี้ ซึ่งแต่ละคนย่อมมีหลักแนวคิดและเทคนิคการทำที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป การเรียนรู้หลากหลายวิธีด้วยวิจารณญาณและเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมแต่ละกรณีปัญหาจะส่งผลดีต่อผู้มารับบริการ
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการอบรมได้ที่นี่
หนังสือประชาสัมพันธ์
รายละเอียดโครงการ
โครงการอบรมวิชาการผ่านสื่อทางไกล
เรื่อง
“บูรณาการกายภาพบำบัดและนวดพื้นบ้านล้านนา”
ผศ.ดร.ประภาส โพธิ์ทองสุนันท์ ผู้มีความรู้และชำนาญการสาขากายภาพบำบัด ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จัดทำโครงการการพัฒนาอัตลักษณ์นวดไทยล้านนาภายใต้การดำเนินงาน ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ สาขาธุรกิจสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่ด้วยการนำองค์ความรู้การนวดพื้นบ้านล้านนามาเพื่อแพร่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการนวดไทยล้านนาและยกระดับวงการแพทย์พื้นบ้านล้านนา
นวดพื้นบ้านล้านนาเป็นวิธีหนึ่งในการบำบัดอาการและดูแลสุขภาพของประชาชนมาตั้งแต่โบราณและสืบทอดกันมาตามบรรพบุรุษ แต่ปัจจุบันองค์ความรู้นี้ยังมิได้ถูกเผยแพร่และสนับสนุนอย่างเป็นระบบ ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทำให้ศาสตร์การนวดนี้อาจเลือนหายไป
ผู้ให้บริการนวดและผู้สนใจทั่วไป สามารถนำความรู้ความเข้าใจด้านการนวดนี้ไปผสมผสานและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมต่อตนเองหรือบริการผู้อื่นได้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกในงานบริการและเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติของตน ทั้งเป็นการอนุรักษ์และสืบสานมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยภาคเหนืออันทรงคุณค่าของบรรพชนไว้ต่อไป
โครงการอบรมวิชาการแบบทางไกล
เรื่อง
“สุขธารา: ธาราบำบัดและธาราพลานามัย (Aquatic Wellness: Aquatic Tharapy and Aquatic Fitness [AQW])” รุ่นที่ 2
สุขธารา (Aquatic wellness) เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ ด้วยหลากหลายวิธีการ เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพทางกายและจิตใจ ตลอดจนการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย เพื่อลดปัญหาทางกายของระบบสรีรวิทยาและป้องกันโรค เป็นการบริหารกายและการออกกําลังกายในน้ำนอกเหนือไปจากการว่ายน้ำทั่วไป ผลที่ได้รับคือ การผ่อนคลายความเครียด การชะลอความเสื่อมของกล้ามเนื้อและข้อต่อ การเพิ่มความแข็งแรงหรือความทนทานของกล้ามเนื้อ
ปัจจุบันผู้รักสุขภาพมีวิธีการหลากหลายรูปแบบที่เลือกตามความถนัดและความพอใจ การออกกําลังกายในน้ำเป็นรูปแบบหนึ่งที่กระทําได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่จําเป็นต้องว่ายน้ำเป็น ซึ่งการรู้ถึงหลักการและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
คลินิกกายภาพบําบัดแม่ปิง เห็นถึงความสําคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารกายและการ
ออกกําลังในน้ำให้แก่นักกายภาพบําบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักพละ และผู้สนใจที่มีความรู้ความสามารถ
พื้นฐานด้านการออกกําลังกาย เพื่อนําไปแนะนําวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้แก่ผู้รักสุขภาพทั่วไป
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการอบรมได้ที่นี
หนังสือประชาสัมพันธ์
เอกสารโครงการ
โครงการอบรมวิชาการระยะสั้น
เรื่อง
“การนวดพังผืดและกล้ามเนื้อแบบบูรณาการ”
การนวดพังผืดและกล้ามเนื้อ (Myofascial massage) เป็นการนวดที่เน้นการคลายพังผืดที่ห้อหุ้มรอบกล้ามเนื้อ ก่อนที่จะนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามเนื้อมีคุณสมบัติในการหดตัว ยืดหยุ่นอย่างมี ประสิทธิภาพดี วิธีการเป็นแบบเฉพาะ ต่างจากการนวดไทยหรือนวดแบบอื่นๆทั่วไป การนวดพังผืดนี้มีมานานแต่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย การอบรมนี้เป็นการบูรณาการวิธีการแบบวิถีไทยและแบบต่างชาติ เป็นรูปแบบผสมผสานจะให้ผลลัพธ์อย่างมี ประสิทธิภาพที่ดีในการให้บริการ
วิทยากร ผศ.ดร.กภ. ประภาส โพธิ์ทองสุนันท์ จะอธิบายแนวพังผืดและกล้ามเนื้อ หลักการและให้ฝึกปฏิบัติเทคนิคการนวดพังผืดและกล้ามเนื้อได้อย่างถูกต้อง และหลักการเลือกรูปแบบเทคนิคการนวดให้เหมาะสมกับส่วนของแขนขาและลำตัวได้อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการอบรมได้ที่นี่
โครงการอบรมวิชาการระยะสั้น
เรื่อง
“บูรณาการกายภาพบำบัดและนวดพื้นบ้านล้านนา” รุ่นที่ 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาส โพธิ์ทองสุนันท์ ผู้มีความรู้และชำนาญการสาขากายภาพบำบัด ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จัดทำโครงการการพัฒนาอัตลักษณ์นวดไทยล้านนาภายใต้การดำเนินงาน ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ สาขาธุรกิจสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่ด้วยการนำองค์ความรู้การนวดพื้นบ้านล้านนามาเพื่อแพร่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการนวดไทยล้านนาและยกระดับวงการแพทย์พื้นบ้านล้านนา
นวดพื้นบ้านล้านนาเป็นวิธีหนึ่งในการบำบัดอาการและดูแลสุขภาพของประชาชนมาตั้งแต่โบราณและสืบทอดกันมาตามบรรพบุรุษ แต่ปัจจุบันองค์ความรู้นี้ยังมิได้ถูกเผยแพร่และสนับสนุนอย่างเป็นระบบ ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทำให้ศาสตร์การนวดนี้อาจเลือนหายไป
นักกายภาพบำบัด ผู้ให้บริการนวดและผู้สนใจทั่วไป สามารถนำความรู้ความเข้าใจด้านการนวดนี้ไปผสมผสานและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมต่อตนเองหรือบริการผู้อื่นได้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกในงานบริการและเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติของตน ทั้งเป็นการอนุรักษ์และสืบสานมรดกภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยภาคเหนืออันทรงคุณค่าของบรรพชนไว้ต่อไป
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการอบรมได้ที่นี